หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า
หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า

หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า

จอมพลเรือ หลุยส์ ฟรานซิส อัลเบิร์ต วิคเตอร์ นิโคลัส เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า (อังกฤษ: Louis Francis Albert Victor Nicholas Mountbatten, Earl Mountbatten of Burma) หรือนามเดิมคือ เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทินแบร์ค; 25 มิถุนายน ค.ศ. 1900 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 เป็นสมาชิกราชวงศ์บริติช เจ้าหน้าที่แห่งราชนาวี และรัฐบุรุษ พระมาตุลาของเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ และพระอนุวงศ์ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ทรงเป็นอุปราชแห่งอินเดียคนสุดท้ายแห่งบริติชอินเดียและข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่งประเทศอินเดียในเครือจักรภพพระองค์ประสูติที่เมืองวินด์เซอร์ในครอบครัวตระกูลบัทเทินแบร์คที่มีชื่อเสียง เมานต์แบ็ตเทนทรงเข้าเรียนที่ Royal Naval College, Osborne ก่อนที่จะเข้าสู่กองทัพเรือหลวงในปี ค.ศ. 1916 พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และหลังสงคราม พระองค์ทรงได้เข้าเรียนที่ Christ's College, เคมบริดจ์ ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม เมานต์แบ็ตเทนยังคงดำรงอาชีพทหารเรือ ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางเรือ ภายหลังการลุกลามของสงครามโลกครั้งที่สอง เมานต์แบ็ตเทนทรงได้บัญชาการในเรือพิฆาต เรือหลวงเคลี่ และกองเรือรบพิฆาตที่ 5 และพระองค์ทรงมีบทบาทที่สำคัญในนอร์เวย์ ช่องแคบอังกฤษ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 พระองค์ทรงได้บัญชาการในเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือหลวงอิลัสเทรียส พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการร่วมและเป็นสมาชิกของหัวหน้าคณะกรรมการเสนาธิการ(Chiefs of Staff Committee)ในต้นปี ค.ศ. 1942 และจัดให้มีการตีโฉบฉวยที่แซ็ง-นาแซร์และเดียป ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 เมานต์แบ็ตเทนทรงกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดูแลการเข้ายึดครองพม่าและสิงคโปร์อีกครั้งจากญี่ปุ่นในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 จากการปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ในช่วงสงคราม เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์เป็นไวเคานต์ใน ค.ศ. 1946 และเอิร์ลในปีถัดมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดียและดูแลการแบ่งแยกบริติชอินเดียออกมาเป็นอินเดียและปากีสถาน พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่งอินเดียจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 ในปี ค.ศ. 1952 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนของบริติช และผู้บัญชาการเนโทแห่งกองกำลังพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 ถึง 1959 พระองค์ทรงเป็นสมุหราชนาวี ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พระบิดาของพระองค์ เจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค เคยดำรงตำแหน่งเมื่อสี่สิบปีก่อน หลังจากนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแห่งเสนาธิการป้องกันจนถึง ค.ศ. 1965 ทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่มีความสามารถในกองทัพบริติชที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลานั้น เมานต์แบ็ตเทนยังทรงได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่งคณะกรรมมาธิการทหารของเนโทเป็นเวลาหนึ่งปีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1979 เมานต์แบ็ตเทนทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยการวางระเบิดบนเรือตกปลาของพระองค์ในมุลลากมอร์ เคาท์ตี้ สไลโก ประเทศไอร์แลนด์ โดยสมาชิกของกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ชั่วคราว(IRA) พระองค์ได้รับการจัดพิธีพระศพที่ Westminster Abbey และถูกฝังพระศพใน Romsey Abbey ในแฮมป์เชอร์

หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า

ยศ จอมพลเรือ
คู่สมรส เอ็ดวินา แอชลีย์ เคาน์เตสเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า
บุตร แพทริเซีย แคนเชบูลล์ เคาน์เตสที่ 2 เมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า
เลดีพาเมลา ฮิคส์
นายกรัฐมนตรี แอนโทนี อีเดน
แฮร์โรล แม็กมิลลัน
ก่อนหน้า โรเดอริก แม็กกริจอร์
ประจำการ 1913–1965
เกิด เจ้าชายหลุยส์ ฟรานซิส อัลเบิร์ต วิคเตอร์ นิโคลัส แห่งบัทเทินแบร์ค
25 มิถุนายน ค.ศ. 1900(1900-06-25)
วินด์เซอร์, สหราชอาณาจักร
การยุทธ์ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง
สังกัด ราชนาวี
รับใช้  สหราชอาณาจักร
ถัดไป ชาลล์ แลมบี
กษัตริย์ พระเจ้าจอร์จที่ 6
วิชาชีพ ทหารเรือ
เสียชีวิต 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 (79 ปี)
มุลลากมอร์, ไอร์แลนด์
ศาสนา แองกลิคัน

ใกล้เคียง

หลุยส์ หลุยส์ วิตตอง หลุยส์ สก๊อต หลุยส์ เฮสดาร์ซัน หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า หลุยส์ เดอ บรอย หลุยส์แห่งบริเตนใหญ่ หลุยส์ เดอ มงฟอร์ หลุยส์ พาร์ทริดจ์ หลุยส์ ปาสเตอร์